เมนู

อรรถกถาปฐมโอวาทสูตรที่ 6



พึงทราบวินิจฉัยในปฐมโอวาทสูตรที่ 6 ดังต่อไปนี้.
บทว่า อหํ วา ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเพราะเหตุไร.
ตอบว่า เพื่อตั้งพระเถระไว้ในฐานะของพระองค์. ถามว่า พระสารีบุตร
และพระโมคคัลลานะ ไม่มีหรือ. ตอบว่า มี. แต่พระองค์ได้มีความดำริ
อย่างนี้ว่า พระเถระเหล่านี้ จักดำรงอยู่นานไม่ได้. ส่วนกัสสปมีอายุ
120 ปี. เมื่อเราปรินิพพานแล้ว กัสสปนั้นจักนั่งในถ้ำสัตตบรรณคูหา
ทำการรวบรวมพระธรรมวินัย ทำเวลาประมาณ 5,000 ปี ของเราให้
เป็นไปได้. เราจึงตั้งเธอไว้ในฐานะของตน. พวกภิกษุจักสำคัญคำของ
กัสสปอันตนพึงฟังด้วยดี. เพราะฉะนั้น พระองค์จึงตรัสอย่างนี้. บทว่า
ทุพฺพจา ความว่า พวกภิกษุพึงเป็นผู้ว่ายาก. บทว่า โทวจสฺสกรเณหิ
คือ ด้วยการทำให้เป็นผู้ว่ายาก. บทว่า อปทกฺขิณคฺคาหิโน ท่านแสดงว่า
ฟังอนุศาสนีแล้ว ไม่รับเอาโดยความเคารพ ไม่ปฏิบัติตามคำสอน เมื่อไม่
ปฏิบัติ เป็นผู้ชื่อว่ารับเอาโดยไม่เคารพ. บทว่า อจฺจาวทนฺเต ความว่า
กล่าวเลยไป คือพูดมากเกินไป เพราะอาศัยการเรียนพระสูตรมาก.
บทว่า โก พหุตรํ ภาสิสฺสติ ความว่า เมื่อกล่าวธรรม ย่อมกล่าวว่า
ใครจักกล่าวธรรมมาก. ท่านหรือ หรือว่าเรา. โก สุนฺทรตรํ ความว่า
รูปหนึ่ง แม้เมื่อกล่าวมาก ย่อมกล่าวไม่ได้ประโยชน์ ไม่ไพเราะ. รูปหนึ่ง
กล่าวมีประโยชน์ ไพเราะ. ท่านหมายถึงข้อนั้น จึงกล่าวว่า โก สุนฺทรฺตรํ
ดังนี้. ส่วนรูปหนึ่ง กล่าวมากละดี ก็ไม่กล่าวนาน เลิกเร็ว. รูปหนึ่ง
ย่อมใช้เวลานาน ท่านหมายถึงข้อนั้น จึงกล่าวว่า โก จิรตรํ ดังนี้.
จบอรรถกถาปฐมโอวาทสูตรที่ 6

7. ทุติยโอวาทสูตร



ว่าด้วยการให้โอวาทภิกษุทั้งหลาย



[489] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน กรุง-
ราชคฤห์.
ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนกัสสป เธอ
จงกล่าวสอนภิกษุทั้งหลาย จงกระทำธรรมีกถาแก่ภิกษุทั้งหลาย เราหรือ
เธอพึงกล่าวสอนภิกษุทั้งหลาย เราหรือเธอพึงกระทำธรรมีกถาแก่ภิกษุ
ทั้งหลาย.
[490] ท่านพระมหากัสสปกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้เจริญ ภิกษุทั้งหลายในบัดนี้ เป็นผู้ว่ายาก ประกอบด้วยธรรมที่ทำให้
เป็นผู้ว่ายาก ไม่อดทน ไม่รับอนุศาสนีโดยเคารพ บุคคลบางคนไม่มี
ศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ ไม่มีความเพียร ไม่มีปัญญา ในกุศล
ธรรมทั้งหลาย ตลอดคืนหรือวันของเขาที่ผ่านมา เป็นอันหวังได้แต่ความ
เสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลายเท่านั้น หวังความเจริญไม่ได้เลย เปรียบเหมือน
พระจันทร์ในข้างแรม ย่อมเสื่อมจากวรรณ จากมณฑล จากรัศมี จาก
ความยาวและความกว้าง ในคืนหรือวันที่ผ่านมา ฉันใด บุคคลบางคน
ไม่มีศรัทธา... ไม่มีหิริ... ไม่มีโอตตัปปะ... ไม่มีความพากเพียร...
ไม่มีปัญญา ในกุศลธรรมทั้งหลาย ตลอดคืนหรือวันของเขาที่ผ่านมา
เป็นอันหวังได้แต่ความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลายเท่านั้น หวังความเจริญ
ไม่ได้เลย เหมือนฉะนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่บุรุษบุคคลไม่มี
ศรัทธานี้ เป็นความเสื่อมโทรม ข้อที่บุรุษบุคคลไม่มีหิรินี้ เป็นความ